นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรม คือ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่นเทคนิคและวิธีการใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่ยอมรับใช้โดยทั่วกัน
เทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการสอนเพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือตลอดจนเทคนิคต่างๆ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัฒกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
แนวคิดหลักของเทคโนโลยี
1. กิจกรรมเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการของมนุษย์2. เทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น ต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ธรรมชาติสร้างต้นไม้ พืช สัตว์ แม่น้ำ มหาสมุทร ภูเขา
ส่วนมนุษย์สร้างสิ่งก่อสร้าง เครื่องบิน รถยนต์ เตารีด ตู้เย็น โทรศัทพ์ ฯลฯ
3. เทคโนโลยีสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น (better) เร็วขึ้น (faster) และ ค่าใช้จ่ายถูกลง(cheaper)
4. มนุษย์ใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ และทรัพยากรในรูปต่าง ๆ เช่น วัสดุ เครื่องมือ เครื่องจักร ข้อมูล ฯลฯ ในการสร้างเทคโนโลยี
5. เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมีผลกระทบต่อสังคม การนำเทคโนโลยีไปใช้ มีทั้งคุณและโทษ ต่อสังคม ถ้าเลือกผิดและใช้ไม่เหมาะสมอาจเป็นโทษได้
หลักการสารสนเทศ คือ การศึกษาแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ความสำคัญของระบบสารสนเทศต่อธุรกิจ และศึกษาองค์ประกอบของเทคโนโลยี สารสนเทศ
แนวคิดเกี่ยวกับการจักการเคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
การสื่อสารในการเรียนการสอนคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้องครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครูคือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า การสื่อความหมาย ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Communication ซึ่งรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Communis หมายถึง การร่วม (Common) เมื่อมีการสื่อสารหรือการสื่อความหมาย ก็หมายถึงว่า มีการกระทำร่วมกันในบางสิ่งบางอย่าง นั่นคือการถ่ายทอดหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ ความคิด ของคนเรานั่นเอง
การสื่อสารกับการศึกษา
การเรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสาร อันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือ ผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆ ภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง
จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้น
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือการสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รับ เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ การออกคำสั่งหรือมอบหมายงานโดย ฝ่ายผู้รับไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ซึ่งผู้รับอาจไม่เข้าใจข่าวสาร หรือเข้าใจไม่ถูกต้องตามเจตนาของผู้ส่งและทางฝ่ายผู้ส่งเมื่อไม่ทราบปฏิกิริยาของผู้รับจึงไม่อาจปรับการสื่อสารให้เหมาะสมได้
1.2 การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน ผู้สื่อสารมีโอกาสทราบปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างกัน ทำให้ทราบผลของการสื่อสารว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ และช่วยให้สามารถปรับพฤติกรรมในการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตัวอย่างการสื่อสารแบบสองทาง เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์ การออกคำสั่งหรือมอบหมายงานโดยฝ่ายรับมีโอกาสแสดงความคิดเห็น
หน่วยการเรียนรู้ที่4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันนี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
การเรียนรู้ (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะจากความหมายดังกล่าวพฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้ 2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้ ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์ และฮิลการ์ด ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่กล่าวไว้ดังนี้
"…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…" การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn"หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ
ความคาดหวังเชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
หลักการสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
1.มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนรู้ เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1. ความสามารถในการอธิบาย ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้ และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2. ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้ และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2. ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
การสอน จากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ พบว่านักการศึกษาไทยส่วนใหญ่ใช้คำว่า รูปแบบการสอน มากกว่ารูปแบบการเรียนการสอนและรูปแบบการจัดการเรียน
การสอน
๓. ลักษณะของรูปแบบการสอน
รูปแบบการสอนมีผู้ให้คำอธิบายไว้ดังนี้
(๑) รูปแบบการสอน ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน แม้รูปแบบ การสอนแบบต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบสำคัญคล้ายคลึงกันแต่บางรูปแบบอาจมีองค์ประกอบบางส่วนแตกต่างกันบ้าง
(๒) รูปแบบการสอน ควการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญา
ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาสติปัญญา ควรจัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องและส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา สิ่งแวดล้อมทางปัญญามีหลายลักษณะ เช่น ข้อมูล สิ่งของ รวมทั้งเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ รูปแบบการสอนที่มุ่งมั่นพัฒนาสติปัญญา จึงควรประกอบด้วยขั้นตอนการสอนที่ฝึกการกระทำหรือฝึกการคิดในลักษณะต่าง ๆ โดยมีการจัดข้อมูลหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้รับรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นระบบแบบแผน
ความสำคัญของการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญา
สติปัญญาของมนุษย์เป็นความสามารถด้านการคิดในลักษณะต่าง ๆ สติปัญญาของมนุษย์ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น ในการจำแนกสัตว์ออกเป็น
สปีชีส์ต่าง ๆ นั้น ลักษณะสำคัญทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ คือ มนุษย์มี
สัดส่วนของน้ำหนักสมองต่อน้ำหนักตัวสูงกว่าสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เองได้ กระบวนการทางสมองที่สัมพันธ์กับความสามารถในการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เองได้ คือ การคิด จึงอาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาสติปัญญาของคน คือ การพัฒนาความสามารถในการคิดนั่นเอง จากทฤษฎีเกี่ยวกับสติปัญญา สติปัญญาที่นักการศึกษาต่างๆ เสนอไว้เป็นที่ยอมรับว่าในสภาพปกติคนเราพัฒนาสติปัญญาได้โดยสามารถคิดในลักษณะต่าง ๆ ความสามารถในการคิดของคนเราสามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างเป็นลำดับการพัฒนา
สติปัญญา หรือ พัฒนาความสามารถในการคิด นอกจากเกิดจากการที่คนมีสมองแล้วยังเกิดจากการที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วย
การสอนเป็นการจัดการสถานการณ์หรือจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง การสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาหรือพัฒนาความสามารถในการคิด จึงเป็นการจัดสถานการณ์หรือกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนพัฒนาความสามารถในการคิดลักษณะต่าง ๆ ได้ แม้คนปกติทุกคนจะมีความสามารถในการคิดได้มาตั้งแตเกิด แต่เด็กไม่ได้มี "ทักษะกระบวนการทางปัญญา" หรือ"ทักษะการคิด" มาตั้งแต่เกิดได้
หลักการสอนที่มีประสิทธิภาพโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
มีรูปแบบการสอนที่หลากหลายในการพัฒนาการสอนคิดให้กับผู้เรียน เช่น การสอนแบบโครงงาน การสอนโดยใช้รูปแบบ Synnectics Model การสอนโดยใช้รูปแบบ Inquiry การสอนโดยใช้รูปแบบวิทยาศาสตร์ ในการสอนคิดใคร่นำเสนอรูปแบบที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้นำเสนอในเอกสารวิชาการต่าง ๆ มากกมาย ซึ่งมีรูปแบบและขั้นตอน ดังต่อไปนี้
การสอนตามรูปแบบCIPPA C (Construction) คือ ครูจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง
I (Interaction) คือ ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
P (Physical Participation) คือ จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย
P (Process Learning) คือ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทำงานให้สำเร็จ
A (Application) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ขั้นตอนการสอนตาม CIPPA model ๑.ขั้นการทบทวนความรู้เดิม เป็นการสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่เคยเรียนรู้ หรือพื้นความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่จะดำเนินการสอน
๒.ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง ให้นักเรียนได้รู้จักแหล่งที่จะค้นหาความรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด สื่อเอกสาร มุมประสบการณ์ต่าง ๆ หรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น ภูมิปัญญา สถานที่สำคัญในชุมชน เป็นต้น
๓.ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาทำความเข้าใจแล้วใช้กระบวนการคิดในการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่กับข้อมูลเดิมทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งใหม่
๔.ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเมื่อได้เรียนรู้แล้ว นำองค์ความรู้นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความคิดของตน
๕.ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้ง่าย เป็นกิจกรรมสรุปร่วมกัน โดยสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
๖.ขั้นการแสดงผลงาน เป็นกิจกรรมเสนอสิ่งที่เรียนรู้ในรูปของการจัดกิจกรรม
๗.ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ต้องการคำตอบต่อไป
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System Design)
.....ความนำ ในการจัดทำเอกสารชุดนี้ ผู้เขียน จะกล่าวถึงการออกแบบระบบการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปพัฒนาเป็นบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะขอแบ่งขั้นตอนการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
....ก. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)
....ข. ขั้นการออกแบบบทเรียน (Design)
....ค. ขั้นการพัฒนาบทเรียน (Development)
....ง. ขั้นการจัดทำบทเรียน (Implementation)
....จ. ขั้นการประเมินบทเรียน (Evaluation)
....ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน ผู้เขียนขอนำเสนอเนื้อหาพื้นฐานทีเกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้นบางประการให้เข้าใจตรงกันก่อนดังนี้
การสอน
๓. ลักษณะของรูปแบบการสอน
รูปแบบการสอนมีผู้ให้คำอธิบายไว้ดังนี้
(๑) รูปแบบการสอน ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน แม้รูปแบบ การสอนแบบต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบสำคัญคล้ายคลึงกันแต่บางรูปแบบอาจมีองค์ประกอบบางส่วนแตกต่างกันบ้าง
(๒) รูปแบบการสอน ควการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญา
ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาสติปัญญา ควรจัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องและส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา สิ่งแวดล้อมทางปัญญามีหลายลักษณะ เช่น ข้อมูล สิ่งของ รวมทั้งเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ รูปแบบการสอนที่มุ่งมั่นพัฒนาสติปัญญา จึงควรประกอบด้วยขั้นตอนการสอนที่ฝึกการกระทำหรือฝึกการคิดในลักษณะต่าง ๆ โดยมีการจัดข้อมูลหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้รับรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นระบบแบบแผน
ความสำคัญของการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญา
สติปัญญาของมนุษย์เป็นความสามารถด้านการคิดในลักษณะต่าง ๆ สติปัญญาของมนุษย์ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น ในการจำแนกสัตว์ออกเป็น
สปีชีส์ต่าง ๆ นั้น ลักษณะสำคัญทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ คือ มนุษย์มี
สัดส่วนของน้ำหนักสมองต่อน้ำหนักตัวสูงกว่าสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เองได้ กระบวนการทางสมองที่สัมพันธ์กับความสามารถในการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เองได้ คือ การคิด จึงอาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาสติปัญญาของคน คือ การพัฒนาความสามารถในการคิดนั่นเอง จากทฤษฎีเกี่ยวกับสติปัญญา สติปัญญาที่นักการศึกษาต่างๆ เสนอไว้เป็นที่ยอมรับว่าในสภาพปกติคนเราพัฒนาสติปัญญาได้โดยสามารถคิดในลักษณะต่าง ๆ ความสามารถในการคิดของคนเราสามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างเป็นลำดับการพัฒนา
สติปัญญา หรือ พัฒนาความสามารถในการคิด นอกจากเกิดจากการที่คนมีสมองแล้วยังเกิดจากการที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วย
การสอนเป็นการจัดการสถานการณ์หรือจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง การสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาหรือพัฒนาความสามารถในการคิด จึงเป็นการจัดสถานการณ์หรือกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนพัฒนาความสามารถในการคิดลักษณะต่าง ๆ ได้ แม้คนปกติทุกคนจะมีความสามารถในการคิดได้มาตั้งแตเกิด แต่เด็กไม่ได้มี "ทักษะกระบวนการทางปัญญา" หรือ"ทักษะการคิด" มาตั้งแต่เกิดได้
หลักการสอนที่มีประสิทธิภาพโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
มีรูปแบบการสอนที่หลากหลายในการพัฒนาการสอนคิดให้กับผู้เรียน เช่น การสอนแบบโครงงาน การสอนโดยใช้รูปแบบ Synnectics Model การสอนโดยใช้รูปแบบ Inquiry การสอนโดยใช้รูปแบบวิทยาศาสตร์ ในการสอนคิดใคร่นำเสนอรูปแบบที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้นำเสนอในเอกสารวิชาการต่าง ๆ มากกมาย ซึ่งมีรูปแบบและขั้นตอน ดังต่อไปนี้
การสอนตามรูปแบบCIPPA C (Construction) คือ ครูจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง
I (Interaction) คือ ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
P (Physical Participation) คือ จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย
P (Process Learning) คือ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทำงานให้สำเร็จ
A (Application) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ขั้นตอนการสอนตาม CIPPA model ๑.ขั้นการทบทวนความรู้เดิม เป็นการสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่เคยเรียนรู้ หรือพื้นความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่จะดำเนินการสอน
๒.ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง ให้นักเรียนได้รู้จักแหล่งที่จะค้นหาความรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด สื่อเอกสาร มุมประสบการณ์ต่าง ๆ หรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น ภูมิปัญญา สถานที่สำคัญในชุมชน เป็นต้น
๓.ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาทำความเข้าใจแล้วใช้กระบวนการคิดในการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่กับข้อมูลเดิมทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งใหม่
๔.ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเมื่อได้เรียนรู้แล้ว นำองค์ความรู้นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความคิดของตน
๕.ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้ง่าย เป็นกิจกรรมสรุปร่วมกัน โดยสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
๖.ขั้นการแสดงผลงาน เป็นกิจกรรมเสนอสิ่งที่เรียนรู้ในรูปของการจัดกิจกรรม
๗.ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ต้องการคำตอบต่อไป
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System Design)
.....ความนำ ในการจัดทำเอกสารชุดนี้ ผู้เขียน จะกล่าวถึงการออกแบบระบบการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปพัฒนาเป็นบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะขอแบ่งขั้นตอนการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
....ก. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)
....ข. ขั้นการออกแบบบทเรียน (Design)
....ค. ขั้นการพัฒนาบทเรียน (Development)
....ง. ขั้นการจัดทำบทเรียน (Implementation)
....จ. ขั้นการประเมินบทเรียน (Evaluation)
....ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน ผู้เขียนขอนำเสนอเนื้อหาพื้นฐานทีเกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้นบางประการให้เข้าใจตรงกันก่อนดังนี้
.....ความหมาย การออกแบบระบบการเรียนการสอน เป็นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) มาประยุกต์ใช้กำหนดรูปแบบ ของการวางแผนจัดการเรียนการสอนกล่าวคือ ในการวางแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง จะมีการพิจารณาที่ปัจจัย (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และผลกระทบ (Impact)
วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
….1.การจัดทำ แผนการสอน ของครูเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนจำนวน 1- 2 ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นการออกแบบการสอนได้ หากมีการจัดทำแผนการสอนพิจารณาปัจจัยของการจัดการเรียนการสอนเช่นเป้าหมายของการสอน วัตถุประสงค์ของการสอน มีการวิเคราะห์เนื้อหา เลือกกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เลือกสื่อและวิธีการประเมินผลได้สอดคล้องกับกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของการสอน เมื่อนำแผนไปใช้จัดการเรียนการสอนแล้ว มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ประเมินกระบวนการทั้งหมดของแผนการสอน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแผนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
…..2.จากแผนการสอนที่ครูจัดทำเพื่อใช้สอนเพียง 1- 2 ชั่วโมง อาจมีการขยายขอบข่ายของเนื้อหาออกเป็น หน่วยการเรียนรู้ ที่สามารถใช้สอนได้หลายๆ ชั่วโมงขึ้นเป้าหมายของการสอน เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งอาจเรียกว่าจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดจุดประสงค์ปลายทาง มีการออกแบบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียน มีการวิเคราะห์เนื้อหา กำหนดเนื้อหาย่อยๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม มีการวางแผนการเลือกใช้หรือจัดทำสื่อการสอน ในแต่ละกิจกรรมมีการนำเสนอเนื้อหา การฝึกและการประเมินผลระหว่างเรียน และประเมินผลหลังเรียนเมื่อเรียนจบหน่วย เราอาจเรียกการออกแบบการสอนในลักษณะนี้ว่า ชุดการเรียน
….3.หากเรากำหนดเนื้อหาและเป้าหมายของการสอนทั้ง คอร์ส (รายวิชา) หรือทั้งหลักสูตรแบ่งเนื้อหาทั้งหมดออกเป็นหน่วยย่อยๆ แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับที่กล่าวในข้อ 2 ก็จะทำให้เรามี ชุดการเรียน หลายๆ ชุด ที่เป็นรายวิชาเดียวกัน จัดระบบใหม่ให้มีการประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมตลอดรายวิชา สามารถนำผลการประเมินทั้งระหว่างเรียนในแต่ละชุดการเรียน และหลังจากที่เรียนครบทั้งรายวิชาแล้ว มาประเมินและตัดสินผลการเรียนของรายวิชาได้ เราก็เรียกว่า Courseware
....จากการแบ่งระดับของการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 3 ระดับดังกล่าวเมื่อพิจารณาคุณลักษณะ กระบวนการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะพบว่า ระดับแผนการสอนเป็นการออกแบบโดยผู้สอนเอง ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการสอนเอง เนื้อหาที่สอนเป็นเนื้อหาสั้นๆ ครูมักเลือกใช้สื่อที่มีอยู่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากกว่าผลิต ส่วนการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์ อาจเป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะที่ใช้เป็นบทเรียนหลัก(ComprehensiveReplacement Media) บทเรียนเพิ่มเติม (Complementary Media) และบทเรียนเสริม(Supplementary Media) เนื้อหาที่จัดทำมีความซับซ้อนขึ้น การออกแบบบทเรียนต้องคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา คุณลักษณะของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของผู้เรียน วิธีการนำเสนอบทเรียน การเลือกใช้สื่อและยุทธวิธีในการสอน การวัดและประเมินผล ต้องมีการทดลองใช้และปรับปรุงก่อนที่จะนำไปใช้จริง จึงต้องใช้บุคลากรหลายฝ่ายมาร่วมทำงานเป็นทีม
…..2.จากแผนการสอนที่ครูจัดทำเพื่อใช้สอนเพียง 1- 2 ชั่วโมง อาจมีการขยายขอบข่ายของเนื้อหาออกเป็น หน่วยการเรียนรู้ ที่สามารถใช้สอนได้หลายๆ ชั่วโมงขึ้นเป้าหมายของการสอน เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งอาจเรียกว่าจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดจุดประสงค์ปลายทาง มีการออกแบบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียน มีการวิเคราะห์เนื้อหา กำหนดเนื้อหาย่อยๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม มีการวางแผนการเลือกใช้หรือจัดทำสื่อการสอน ในแต่ละกิจกรรมมีการนำเสนอเนื้อหา การฝึกและการประเมินผลระหว่างเรียน และประเมินผลหลังเรียนเมื่อเรียนจบหน่วย เราอาจเรียกการออกแบบการสอนในลักษณะนี้ว่า ชุดการเรียน
….3.หากเรากำหนดเนื้อหาและเป้าหมายของการสอนทั้ง คอร์ส (รายวิชา) หรือทั้งหลักสูตรแบ่งเนื้อหาทั้งหมดออกเป็นหน่วยย่อยๆ แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับที่กล่าวในข้อ 2 ก็จะทำให้เรามี ชุดการเรียน หลายๆ ชุด ที่เป็นรายวิชาเดียวกัน จัดระบบใหม่ให้มีการประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมตลอดรายวิชา สามารถนำผลการประเมินทั้งระหว่างเรียนในแต่ละชุดการเรียน และหลังจากที่เรียนครบทั้งรายวิชาแล้ว มาประเมินและตัดสินผลการเรียนของรายวิชาได้ เราก็เรียกว่า Courseware
....จากการแบ่งระดับของการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 3 ระดับดังกล่าวเมื่อพิจารณาคุณลักษณะ กระบวนการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะพบว่า ระดับแผนการสอนเป็นการออกแบบโดยผู้สอนเอง ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการสอนเอง เนื้อหาที่สอนเป็นเนื้อหาสั้นๆ ครูมักเลือกใช้สื่อที่มีอยู่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากกว่าผลิต ส่วนการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์ อาจเป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะที่ใช้เป็นบทเรียนหลัก(ComprehensiveReplacement Media) บทเรียนเพิ่มเติม (Complementary Media) และบทเรียนเสริม(Supplementary Media) เนื้อหาที่จัดทำมีความซับซ้อนขึ้น การออกแบบบทเรียนต้องคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา คุณลักษณะของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของผู้เรียน วิธีการนำเสนอบทเรียน การเลือกใช้สื่อและยุทธวิธีในการสอน การวัดและประเมินผล ต้องมีการทดลองใช้และปรับปรุงก่อนที่จะนำไปใช้จริง จึงต้องใช้บุคลากรหลายฝ่ายมาร่วมทำงานเป็นทีม
....บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์นั้น ต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมมือกัน ดังนี้
.....1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Content Expert)
.....2. นักออกแบบการสอน (Instructional Designer)
.....3. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
.....4. ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialist)
.....5. ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมประยุกต์ (Programmer)
.....1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Content Expert)
.....2. นักออกแบบการสอน (Instructional Designer)
.....3. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
.....4. ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialist)
.....5. ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมประยุกต์ (Programmer)
ประเภทของเนื้อหา
สรุป
บทเรียนนี้คงช่วยให้นักศึกษาและผู้สนใจแนวทางในการเริ่มต้นการวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบสามารถมองภาพโดยรวมของระบบที่เราต้องการพัฒนา และสามารถใช้เครื่องมือในการ วิเคราะห์ระบบ เช่นเทคนิคการรวบรวมข้อมูล คำต้องการของผู้ใช้ระบบ การเขียนแผนภาพกระแสข้อมูล คำอธิบายการประมวลผล เพื่อเป็นพิมพ์เขียวหรือต้นแบบในการสร้างระบบใหม่ พร้อมทั้ง ได้แนวทางในการตรวจสอบแบบที่ออกมาดีหรือไม่โดยใช้หลักการตรวจสอบผังโครงสร้าง แผนภาพลำดับขั้น รูปแบบอินพุต/เอาต์พุต วิธีการออกแบบฟอร์ม แล้วจึงเริ่มการดำเนินการ พัฒนาโปรแกรม ติดตั้งระบบ โดยมีการวางแผนและควบคุมโครงการ ให้ระบบงานที่ออกแบบใหม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์
|